(เครดิตรูปภาพ: Freepik)
อย่าเพิ่งซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ถ้ายังไม่รู้สิ่งนี้! วิธีการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่ผู้ใช้งานควรรู้
รถยนต์ไฟฟ้า EV (Electric Vehicle) เป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100% โดยไม่มีเครื่องยนต์อยู่ภายในตัวรถ แต่จะแทนที่ด้วยแบตเตอรี่ลูกใหญ่แทน ซึ่งแน่นอนว่าแบตเตอรี่ย่อมมีวันหมดไฟ จึงต้องหาวิธีคงสภาพหรือเติมไฟให้แบตเตอรี่ใช้งานต่อไปได้
ช่วงนี้เรียกได้ว่ากระแสรถยนต์ไฟฟ้ามาแรงมาก ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ ก็น่าจะมาจากสภาวะน้ำมันแพง และราคาผันผวนทุกวัน บวกกับดีไซน์ของรถยนต์ไฟฟ้าที่แปลกตา แต่สวยล้ำนำสมัย และมาในราคาที่จับต้องได้ง่ายกว่ารถยนต์เชื้อเพลิงทั่วไป ทำให้หลายคนสนใจอยากลองใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ซึ่งข้อดีอีกหนึ่งอย่างของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือ ช่วยลดมลพิษในอากาศได้ เพราะในระหว่างการใช้งานไม่มีกระบวนการเผาไหม้ใด ๆ เกิดขึ้น (Zero Emission) นั่นเอง
แต่ข้อด้อยที่เห็นได้ชัดในตอนนี้ก็คือ มีสถานีชาร์จไฟรถยนต์ยังไม่ครอบคลุมเท่าไหร่ ทำให้ไม่ค่อยสะดวกในการชาร์จแบตเตอรี่ แต่เชื่อว่าในอนาคตน่าจะมีจุดให้บริการเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการผลักดันให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้นภายใน 5 ปีนี้
(เครดิตรูปภาพ: Freepik)
เชื่อว่าตอนนี้หลายท่านน่าจะกำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจว่าจะเดินหน้ากับรถยนต์เชื้อเพลงหรือไฮบริดต่อไป หรือจะมุ่งไปรถยนต์ไฟฟ้าเต็มตัวเลยดี แต่ก่อนจะฟันธงอะไร อยากให้ทุกคนได้รู้ก่อนว่า การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามีกี่วิธี และจริง ๆ แล้วเราสามารถชาร์จที่บ้านของตัวเองได้เลย โดยไม่ต้องไปตามจุดบริการต่าง ๆ
สำหรับใครที่มีที่พักอาศัยเป็นของตัวเอง ถือว่าสะดวกสบายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามาก เพราะแค่ปรับเปลี่ยนอะไร ๆ นิดหน่อย ก็สามารถสร้างระบบชาร์จเองได้เลย มาดูกันว่าถ้าต้องการติดตั้งระบบชาร์จไฟรถยนต์ในบ้าน ต้องทำยังไงบ้าง?
1. เปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้ใหญ่ขึ้น โดยแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้ขนาด 30(100) เพื่อไม่ให้เกิดการใช้กำลังไฟที่มากจนเกินไป
2. เปลี่ยนสายเมนและลูกเซอร์กิต (MCB) ให้ใหญ่ขึ้น โดยสายเมนแนะนำให้ใช้ขนาด 25 ตร.มม. และลูกเซอร์กิตเป็นขนาด 100(A) เพื่อให้การใช้งานสัมพันธ์กัน
3. ดูว่าในตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ยังมีช่องว่างให้ติดตั้ง Circuit Breaker อีกสักช่องนึงไหม เพราะการชาร์จไฟรถควรแยกของตัวเองต่างหาก ไม่ควรใช้รวมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
4. ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) เพื่อให้เกิดการตัดไฟอัตโนมัติเมื่อกระแสไฟไหลผ่านเข้าออกไม่ปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดเพลิงไหม้ได้ แต่ถ้าสายชาร์จมีระบบตัดไฟอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่มก็ได้
5. ใช้เต้ารับ (EV Socket) ชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ที่สามารถทนกระแสไฟฟ้าต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 16(A)
(เครดิตรูปภาพ: Freepik)
ในปัจจุบันการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ และมีระยะเวลาในการชาร์จที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
1. การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge): เป็นการชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง หรือการเสียบชาร์จโดยตรงกับไฟบ้านนั่นเอง ใช้เวลาในการชาร์จ 1 รอบประมาณ 12-16 ชั่วโมง
2. การชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge): เป็นการชาร์จจากเครื่องชาร์จ EV Charger ซึ่งคุณสามารถซื้อมาติดตั้งไว้ใช้งานที่บ้านได้เช่นกัน และในรถบางรุ่นจะมีแถมเป็นโปรโมชันให้ด้วย ซึ่งเครื่องชาร์จนี้จะช่วยชาร์จแบตให้เต็มเร็วขึ้น โดยใช้เวลาในการชาร์จ 1 รอบประมาณ 6-8 ชั่วโมง
3. การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge): เป็นการชาร์จไฟฟ้าตรงเข้ากับแบตเตอรี่เลย โดยใช้เวลาชาร์จจาก 0-80% จะใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที ซึ่งส่วนใหญ่แล้วการชาร์จรูปแบบนี้ มักจะเห็นได้ตามสถานีบริการต่าง ๆ ที่ต้องใช้ความรวดเร็วในการชาร์จ แต่ข้อเสียคือการชาร์จแบบนี้อาจทำให้แบตเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติได้
รถยนต์ไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะจากการลองคำนวณคร่าว ๆ แล้ว การชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าให้เต็ม 1 รอบ จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 236.8 บาท สามารถวิ่งได้ 350 กิโลเมตร จะตกอยู่ที่กิโลเมตรละ 1.4 บาท ส่วนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะอยู่ที่ประมาณกิโลเมตรละ 3-5 บาท ประหยัดกว่าเห็น ๆ!
แต่ถ้าคุณกำลังมองหาที่ขายรถยนต์มือสอง ให้ Motorist เป็นทางเลือกที่ใช่สำหรับคุณ การันตีราคาดีที่สุด รอรับราคาภายใน 24 ชั่วโมงได้เลย ลงขายฟรี ไม่มีข้อผูกมัด
รับสิทธิ์ประเมินราคารถฟรีวันนี้!
อ่านเพิ่มเติม: คนมีรถต้องรู้! สีป้ายทะเบียนรถ ต่างกันยังไง?
ต้องการ ราคาประเมินรถ? สามารถติดต่อเราเพื่อรับการประเมินราคารถฟรี ภายใน 24 ชั่วโมงได้เลย…