(เครดิตรูปภาพ: prachachat)
วิธีจ่ายค่าผ่านทาง M-Flow สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิก
ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น หรือ M-Flow ทำให้ใครหลายคนสับสนกันเป็นอย่างมากว่า สามารถขับผ่านช่อง M-Flow ได้ไหม และต้องจ่ายเงินค่าผ่านทางยังไง และด้วยความงงก็เลยทำให้ไม่ได้จ่ายค่าผ่านทาง กลายเป็นโดนเรียกเก็บค่าปรับย้อนหลังอีก
M-Flow เป็นระบบจัดเก็บค่าผ่านทางด้วยกล้องตรวจบันทึกป้ายทะเบียนรถ ทำให้ผู้ใช้รถสามารถขับผ่านด่าน ฯ ได้เลย โดยไม่ต้องจอดเพื่อจ่ายค่าผ่านทาง ณ ขณะนั้น จากนั้นระบบจะส่งแจ้งเตือนไปยัง SMS, Mobile Application หรืออีเมล (ตามที่ผู้ใช้งานได้ลงทะเบียนเอาไว้) เพื่อจ่ายค่าผ่านทางในภายหลังนั่นเอง
วิธีจ่ายค่าผ่านทาง สำหรับสมาชิก M-Flow
1. จ่ายเป็นรอบบิลรายเดือนแบบอัตโนมัติ
- ตัดผ่านบัตรเครดิต
- ตัดผ่านบัตรเดบิต
- ตัดผ่านบัญชีธนาคาร
* รวมยอดค่าใช้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือน และตัดรอบวันสุดท้ายของเดือน จากนั้นจึงตัดเงินยอดผ่านช่องทางที่สมาชิกได้เลือกไว้
2. จ่ายเป็นรายครั้งแบบอัตโนมัติ
- ตัดผ่านบัตรเครดิต
- ตัดผ่านบัตรเดบิต
- ตัดผ่านบัตร M-Pass / Easy Pass
* รวมยอดค่าใช้บริการภายในวันนั้นถึงเวลา 24.00 น. แล้วจึงตัดเงินยอดผ่านช่องทางที่สมาชิกได้เลือกไว้
3. จ่ายเป็นรายครั้งแบบจ่ายด้วยตัวเอง
- เมื่อขับผ่านช่อง M-Flow ไปแล้ว คุณจะได้รับแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนครบกำหนด 1 วันทาง Mobile Application, SMS หรืออีเมล
- เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดใบแจ้งหนี้ จะมี QR Code ให้สแกนเพื่อจ่ายเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ
- ต้องจ่ายภายใน 2 วันหลังได้รับแจ้งเตือน
4. เลือกการจ่ายเงินแบบอัตโนมัติไว้ แต่ต้องการจ่ายก่อนรอบตัดบัญชี
- ล็อกอินผ่านเว็บไซต์ mflowthai.com และ Mobile Application
- เลือก “บริการสมาชิก”
- เลือก “ชำระค่าผ่านทางสำหรับสมาชิก”
- ดาวน์โหลดใบแจ้งค่าผ่านทาง
- ชำระเงินค่าบริการผ่านแอป ฯ ธนาคาร, ATM, เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส
5. เลือกการจ่ายเงินแบบอัตโนมัติไว้ แต่เงินในบัตร/บัญชีไม่เพียงพอ
- ระบบจะส่งแจ้งเตือนให้รีบเติมเงินก่อนเวลา 12.00 น. ในวันเดียวกัน
- ถ้าเติมเงินไม่ทัน ต้องดาวน์โหลดใบแจ้งหนี้ไว้ และนำไปจ่ายด้วยตัวเองผ่านแอป ฯ ธนาคาร, ATM, เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส
6. เลือกการจ่ายเงินแบบอัตโนมัติไว้ แต่ตัดเงินผ่านบัตรเครดิตไม่ได้
- ระบบจะส่งแจ้งเตือนผ่าน SMS, Mobile Application หรืออีเมล เพื่อให้คุณรีบติดต่อธนาคารเจ้าของบัตร เพื่อให้บัตรกลับมาใช้งานได้ตามปกติภายในเวลา 12.00 น. ในวันเดียวกัน
- หากไม่สามารถแก้ไขได้ทันเวลา ต้องดาวน์โหลดใบแจ้งหนี้ไว้ และนำไปจ่ายด้วยตัวเองผ่านแอป ฯ ธนาคาร, ATM, เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส
(เครดิตรูปภาพ: Freepik)
วิธีจ่ายค่าผ่านทาง สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก M-Flow
ถึงจะไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก แต่ก็สามารถขับผ่านช่อง M-Flow ได้ตามปกติ โดยจะมีการเรียกเก็บค่าผ่านทางภายหลัง ซึ่งคุณสามารถจ่ายค่าผ่านทางได้ ดังนี้
- เข้าไปที่เว็บไซต์ mflowthai.com หรือแอป ฯ M-Flow
- เลือก “วิ่งช่องผ่านทาง M-Flow แต่ไม่ใช่สมาชิก”
- แจ้งหมายเลขทะเบียนรถ เพื่อขอ E-Bill มาจ่ายค่าบริการ
- นำ E-Bill ไปจ่ายด้วยตัวเองผ่านแอป ฯ ธนาคาร, ATM, เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือเคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ถ้าไม่สะดวกเข้าใช้งานเว็บไซต์หรือแอป ฯ สามารถแจ้งหมายเลขทะเบียนรถเพื่อจ่ายค่าผ่านทางได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคาร และเคาน์เตอร์เซอร์วิสโดยไม่ต้องออก E-Bill และจะต้องจ่ายภายใน 2 วันหลังใช้บริการช่อง M-Flow
อัตราค่าปรับหากไม่ได้จ่ายค่าผ่านทาง M-Flow
- กรณีไม่ได้จ่ายภายใน 2 วันหลังใช้บริการ >> ในวันถัดไป (วันที่ 3) ระบบจะส่งหนังสือแจ้งเตือนไปตามที่อยู่ตามบัตรประชาชนว่า ให้จ่ายค่าผ่านทาง M-Flow ภายใน 10 วัน และมีค่าเสียหายเป็น 2 เท่าของค่าผ่านทาง
- หากเกิน 10 วันหลังจากแจ้งเตือนแล้วยังไม่จ่าย >> ระบบจะส่งแจ้งเตือนไปอีกครั้ง โดยจะต้องจ่ายค่าผ่านทาง + ค่าเสียหายเป็น 2 เท่าของค่าผ่านทาง + ค่าปรับ 10 เท่า ภายใน 10 วัน
- หากเกิน 10 วันหลังจากแจ้งเตือนครั้งที่ 2 แล้วยังไม่จ่าย >> ทาง M-Flow จะดำเนินคดีตามกฎหมาย
(เครดิตรูปภาพ: thaieasypass)
M-Flow ต่างจาก M-Pass / Easy Pass ยังไง?
M-Flow
- ไม่มีไม้กั้นช่องผ่านทาง ขับผ่านได้เลย
- ใช้ระบบกล้องตรวจจับป้ายทะเบียนอัตโนมัติ
- ใช้ได้กับรถทุกประเภทบนมอเตอร์เวย์
- สามารถจ่ายเงินได้หลายช่องทาง
M-Pass / Easy Pass
- มีไม้กั้นช่องทางผ่านทาง ต้องชะลอหรือจอดเพื่อรอไม้กั้นเปิด
- ใช้ Tag ติดกับตัวรถเพื่อรับส่งสัญญาณ หากระบบมีปัญหาไม้กั้นก็จะไม่เปิด
- รองรับเฉพาะรถยนต์ 4 ล้อ
- จ่ายค่าผ่านทางได้รูปแบบเดียว คือการเติมเงินในบัตรล่วงหน้า
อ่านเพิ่มเติม: จ่ายใบสั่งออนไลน์ง่าย ๆ ภายในไม่กี่นาที
ต้องการ ราคาประเมินรถ? สามารถติดต่อเราเพื่อรับการประเมินราคารถฟรี ภายใน 24 ชั่วโมงได้เลย…