คนมีประกันรถต้องรู้! ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร?

เผยแพร่โดย เมื่อ

Editors%2 Fimages%2 F1689935099807 Man Photographing His Vehicle With Damages Accident Insurance With Smart Phone

(เครดิตรูปภาพ: Freepik)

น้อยคนที่จะรู้! เราสามารถเรียกร้องเงินชดเชยค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ เมื่อรถของคุณประสบอุบัติเหตุและต้องนำเข้าศูนย์ฯหรืออู่เพื่อซ่อม

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เป็นเรื่องที่ผู้ทำประกันภัยรถต้องรู้ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุและเราเป็นฝ่ายถูก สามารถขอเคลมค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมได้ เพราะโดยปกติหากเราไม่รู้เรื่องเงินชดเชยนี้มาก่อน เราก็จะต้องรับผิดชอบเรื่องค่าเดินทางหรือค่าเช่ารถที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากการที่เราไม่มีรถใช้ด้วยตัวเอง

ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เป็นเงินชดเชยจากการเกิดอุบัติเหตุที่ฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณีได้ เพื่อใช้เป็นค่าเดินทางระหว่างที่กำลังซ่อมรถ (ไม่รวมการสูญเสียรายได้อื่น ๆ )

เอกสารในการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
  • เอกสารใบเคลม
  • รูปสภาพรถหลังเกิดอุบัติเหตุ และรูปถ่ายรถระหว่างซ่อม
  • เอกสารนำรถเข้าซ่อมและมีกำหนดวันส่งรถ - รับรถที่ชัดเจน
  • สำเนาทะเบียนรถ
  • สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัย
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาใบขับขี่
  • เอกสารประกอบการใช้รถในแต่ละวัน (ถ้ามี)
  • ใบเสร็จค่าเช่ารถหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางช่วงที่ไม่มีรถใช้ (ถ้ามี)
  • สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร
  • หนังสือเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถEditors%2 Fimages%2 F1689935120114 Man Opens Hood Car Repair Car Due Breakdown+%281%29

(เครดิตรูปภาพ: Freepik)

ขั้นตอนการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
  • แจ้งความประสงค์ต่อบริษัทประกันภัยของคู่กรณี เพื่อขอเคลมค่าขาดประโยชน์ (เราต้องเป็นฝ่ายถูกเท่านั้นถึงจะขอเคลมได้)
  • รวบรวมเอกสารทั้งหมด รวมถึงเอกสารค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่างที่ไม่มีรถใช้ เช่น ค่ารถโดยสารสาธารณะ ค่าเช่ารถ ฯลฯ เพื่อเป็นหลักฐานในการขอเคลม
  • ยื่นเอกสารทั้งหมดให้กับบริษัทประกันภัยของคู่กรณี
  • รอการติดต่อกลับจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี ซึ่งอาจมีการเจรจาต่อรองเพิ่มเติมหลังการพิจารณาเพื่อประเมินเงินชดเชย
  • รอรับค่าขาดประโยชน์ (ระยะเวลาขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแต่ละบริษัทประกันภัย)
อัตราค่าชดเชยค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
  • กลุ่มที่ 1 รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รวมคนขับ) ชดเชยขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 500 บาทต่อวัน
  • กลุ่มที่ 2 รถยนต์รับจ้างสาธารณะ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ชดเชยขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 700 บาทต่อวัน
  • กลุ่มที่ 3 รถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง ชดเชยขั้นต่อไม่น้อยกว่า 1,000 บาทต่อวัน
  • รถประเภทอื่น ๆ เช่น มอเตอร์ไซค์ ให้เป็นไปตามที่ตกลงกันระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยพิจารณาจากหลักฐานเป็นกรณีไป

แต่ต้องบอกก่อนว่าเงินชดเชยค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนี้ อาจจะไม่ได้คืนเต็มจำนวน 100% เพราะทาง คปภ. มีการกำหนดราคากลางที่บริษัทประกันใช้ในการคำนวณค่าชดเชย ดังนั้นจึงไม่ใช่ทุกกรณีที่จะได้รับการชดเชยค่าขาดประโยช์จากการใช้รถอย่างเต็มจำนวน แต่ก็ดีกว่าไม่ได้รับการชดเชยอะไรเลย

สำหรับใครที่กำลังลังเลว่าการทำประกันภัยรถจะคุ้มไหม แนะนำว่าทำไว้อุ่นใจกว่า เพราะอย่างน้อยหากรถของคุณโดนเฉี่ยวชนและคุณเป็นฝ่ายถูก ก็สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้

สนใจทำประกันภัยรถ Motorist ช่วยหากรมธรรม์ที่คุ้มค่าที่สุดให้คุณได้!

>> https://www.motorist.co.th/car-insurance

0 ความคิดเห็น