(เครดิตรูปภาพ: freepik)
หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมรถติดแล้วสงสัยว่ามันคืออะไร และมีผลกระทบอย่างไรบ้าง วันนี้ Motorist จะพาไปรู้จักกับเรื่องนี้ให้มากขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวว่ากระทรวงคมนาคมเตรียมเก็บค่าธรรมเนียมรถติด คาดว่าจะเริ่มต้นที่ประมาณ 40-50 บาทต่อคันใน 5 ปีแรก และอาจเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยพื้นที่ทดลองเก็บคือบริเวณถนนสุขุมวิท-สีลม ซึ่งนโยบายนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ลดมลพิษ และแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5
ค่าธรรมเนียมรถติด คืออะไร?
ค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ขับขี่รถยนต์ที่เข้าไปในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น เป้าหมายหลักคือลดจำนวนรถยนต์บนถนน ส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะ และช่วยลดมลพิษทางอากาศ นโยบายนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในเมืองใหญ่ เช่น ลอนดอน นิวยอร์ก และสตอกโฮล์ม
หลักการทำงานของค่าธรรมเนียมรถติด
- พื้นที่เก็บค่าธรรมเนียม: มักเป็นย่านที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ใจกลางเมือง
- ช่วงเวลาเก็บ: จะเก็บในช่วงที่การจราจรหนาแน่น เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น
พื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเก็บค่าธรรมเนียมในไทย
จากการศึกษาโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกับ GIZ พบว่า มี 6 เส้นทางหลักที่เหมาะสำหรับมาตรการนี้ เช่น
- แยกเพชรบุรี-ทองหล่อ (60,112 คัน/วัน)
- แยกสีลม-นคราธิวาส (62,453 คัน/วัน)
- แยกสาทร-นราธิวาส (83,368 คัน/วัน)
ประโยชน์ของค่าธรรมเนียมรถติด
- ลดปริมาณรถบนถนน: ลดจำนวนรถยนต์ในพื้นที่จราจรคับคั่ง
- ลดมลพิษ: ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ PM 2.5
- ส่งเสริมขนส่งสาธารณะ: กระตุ้นให้คนใช้รถไฟฟ้าและรถเมล์มากขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพถนน: ลดความแออัด ช่วยให้การขนส่งคล่องตัว
- เพิ่มรายได้รัฐ: ใช้พัฒนาขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน
- เพิ่มความปลอดภัย: ลดความเสี่ยงอุบัติเหตุบนท้องถนน
ค่าธรรมเนียมรถติดอาจเป็นทางเลือกที่ช่วยแก้ปัญหาจราจรและมลภาวะในเมืองใหญ่ได้ แต่การนำมาใช้งานต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลดีและได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างแท้จริง
รับสิทธิ์ประเมินราคารถฟรีวันนี้!
อ่านเพิ่มเติม: 20 ถนนในกรุงเทพ ฯ ที่รถติดที่สุด 2568
ต้องการ ราคาประเมินรถ? สามารถติดต่อเราเพื่อรับการประเมินราคารถฟรี ภายใน 24 ชั่วโมงได้เลย…